Smile Cycling

ฝันเล็กๆ ในการเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยาน

ลั่นกล้อง : เริ่มต้นที่กล้อง Part-I

ไม่มีความคิดเห็น
     หลายปีก่อนโน้นนนนนนน (นานมาก) ... เคยใช้กล้องฟีล์มถ่ายภาพ รู้สึกว่าถ่ายง่าย สนุก มีข้อเสียอย่างเดียวคือ "จ่ายเงินเยอะ" จะถ่ายต้องจ่ายเงินซื้อฟีล์ม ถ่ายแล้วก็ต้องล้าง+อัดภาพ จึงจะเห็นผลงาน ฟีล์ม 1 ม้วน 36 รูป ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 200-250 บาท ... ปัจจุบันจ่ายครั้งแรกครั้งเดียว (ไม่นับพวกเลนส์งอก) ถ่ายภาพเสร็จดูได้จากจอหลังกล้อง เอามาดูในคอม หรือต่อดูกับทีวี แสนสะดวกสะบายและประหยัดด้วย
รูปที่ 1 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท

    แต่ที่บอกว่าถ่ายด้วยกล้องฟีล์มสนุกก็เพราะว่า"ตัวแปร"น้อย ไม่สับสนวุ่นวายในการปรังตั้ง เช่น

  • 1. ฟิล์มก็มีความไวแสง (ISO) ระบุแน่นอน 100, 200, 400 ... ดังนั้นตลอด 36 รูปจากนี้ไม่ต้องยุ่งกับค่าความไวแสง เพราะไปเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้
  • 2. รูรับแสง(ปรับตั้งที่เลนส์) และ ความเร็วชัตเตอร์(ปรับตั้งที่กล้อง) แบ่งเป็นช่วงค่าแสง stop ชัดเจน เช่น 1.4, 2, 2.8, 4, 5.6, 8, 11, 16, 22 และความเร็ว B, 1/50, 1/125, 1/250, 1/500, 1/1000 ...
  • 3. สมุติใช้ฟีล์ม ASA-100 ตั้ง speed shutter ที่ 1/125 และเปิดรูรับแสงที่ f/5.6 - f/8 ถ่ายกลางวันเพียงแค่ปรับรูปรับแสงให้สเกลวัดอยู่ตรงขีดกลาง (รุ่นแรกๆ เป็นแบบเข็ม) ที่เหลืออย่างเดียวที่ต้องปรับคือโฟกัส ซึ่งง่ายยิ่งกว่าง่าย แค่จัดองค์ประกอบ-โฟกัส-กดชัตเตอร์ ... เพราะค่า ISO, F-Stop, White Balance ถูกกำหนดเป็นค่าตายตัวไปแล้ว ไปจนกว่าเปลี่ยนสถานที่หรือเปลี่ยนฟีล์มม้วนใหม่
    ปัจจุบัน ไม่ง่ายอย่างนั้น มีค่าที่ต้องปรับตั้งเยอะแยะมากมาย ผู้เขียนจะไม่เถียงว่าเขามีโหมด Auto ที่ทำให้ทุกอย่าง แค่เล็งไปที่แบบแล้วกด shutter ถ่าย ง่ายกว่าแต่ก่อนเยอะ ... เพราะผู้เขียนลองมาแล้วกับตัวเอง ผลออกมา"สุนัขไม่รับประทาน" หรือใครอยากลองก็ไม่ห้าม อย่าคิดว่า"ฉันเคยเทพในยุคฟิล์ม" มายุคดิจิตอลนี้เด็กๆ 555

    ที่ร่ายเรียงมาซะยาว เพื่อจะบอกว่าการใช้ถ่ายภาพในปัจจุบัน ให้ออกมาสวยสมใจเราต้องศึกษาและทำความเข้าใจ, คุ้นเคย กับกล้องของเราอย่างละเอียดและเข้าใจ บอกได้เลยว่าไม่สามารถใช้ความรู้ในยุคสมัยกล้องฟีล์มได้เลย ที่ใช้ได้แค่หลักการเท่านั้น

รูปที่ 2 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท
    ผู้เขียนเองใช้กล้อง Nikon D7000 มาเข้าปีที่ 4 แล้วยังไม่เคยทำความเข้าใจและปรับตั้งค่าต่างๆ ได้หมด เพราะคิดอยู่ว่าเคยใช้กล้องฟีล์มมาก่อน มันคงไม่แตกต่างกันมาก จึงละเลยเรื่องเหล่านี้ไป ทั้งหมดนี้เป็นที่มาของการถ่ายภาพ"ไม่ได้ดังใจ" ที่เคยอารมณ์เสียกับตัวเองบ่อยครั้ง ... เนื้อหาจากนี้ไปจะเกี่ยวข้องกับกล้อง Nikon D7000 และรูปภาพจะอ้างอิงจากคู่มือที่มากับกล้องนะครับ

     เมื่อจะศึกษาและถ่ายภาพให้สนุก ต้องเกิดจากความเข้าใจในทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้อง แม้ไม่อาจจะทำความเข้าใจได้หมดในคราเดียวกัน ก็ต้องค่อยๆ ประติดประต่อเรื่องราว หาความรู้ทางทฤษฎี แล้วลงมือปฎิบัติ ได้ผลตรง/ไม่ตรง ก็ปรับแก้กันไป เช่น มีคำพูดที่ว่า "การถ่ายภาพ คือ การวาดรูปด้วยแสง" หากใครที่เข้าใจก็นำหลักไปใช้ ผู้เขียนเองไม่เข้าใจในตอนต้น จึงละเลยไป สุดท้ายก็ต้องกลับมาทำความเข้าใจกันใหม่

รูปที่ 2 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท


    หลักการ หรือที่เขาเรียกหรูๆ ว่า Workflow มันก็มีอยู่ว่า มีแหล่งกำเหนิดแสง - แสงส่องมาที่วัตถุ - วัตถุสะท้อนแสงบางส่วนออกมา - ผ่านเลนส์รวมแสง - ม่านบังแสง (shutter) - ผ่านไปยังเซ็นเซ่อร์รับภาพ - แปลงเป็นข้อมูลภาพบันทึกลงการ์ดความจำ - สุดท้ายจะส่งไปร้านพิมพ์ภาพลงกระดาษ หรือ จะดูบนจอคอม ... ถือเป็นสิ้นสุด"การวาดรูปด้วยแสง"
  • - แหล่งกำเหนิดแสง หลักๆ ก็มาจากแสงธรรมชาติ/แสงประดิษฐ์ ... อาจศึกษาที่มาของแสง, คลื่นแสง, และอุณหภมิของสี
  • - วัตถุได้รับแสงและสะท้อนแสง ... อันนี้ต้องศึกษา"ทฤษฎีสี"เบื้องต้น ว่าวัตถเมื่อได้รับแสงส่องมากระทบจะมีการดูกลืนและสะท้อนแสง เช่น วัตถุสีดำ ดูดกลืนทั้งหมด / วัตถุสีขาว สะท้อนทั้งหมด อย่างนี้เป็นต้น
  • - เลนส์ รวมแสง และปล่อยแสงผ่าน ... ศึกษาถึงคุณสมบัติเลนส์ตัวที่เราใช้ และเรื่องที่เลนส์ทุกตัวต้องมีคือ"ขนาดรูปรับแสง(Aperture)"
  • - ม่านบังแสง (Shutter) ... ตัวที่จะปล่อยแสงไปตกกระทบเซ็นเซอร์ฯ จะพูดถึงเรื่อง"ความเร็ว"ในการเปิด/ปิด ให้แสงผ่าน (Shutter Speed)
  • เซ็นเซอร์รับแสงแล้วแปลงเป็นสัญญาณภาพ จะพูดถึงเรื่อง"ความไวแสง (ISO)" 
     ... สรุปขั้นต้น การถ่ายภาพเกี่ยวข้องหัวข้อใหญ่ๆ 4 เรื่อง คือ "ขนาดรูปรับแสง(Aperture)", "ความเร็วชัตเตอร์" (Shutter Speed), "ความไวแสง (ISO)" และ ความสมดุลย์ของสี (White Balance)
รูปที่ 3 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท

     จะเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่าง Shutter, Aperture และ ISO แค่ 3 ปัจจัยก็ทำให้ได้ภาพแล้ว ส่วนความสมดุลย์ของสี (White Balance) จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ภาพนั้นมีแสง/สีสมจริงและถูกต้อง(รวมถึงถูกใจ) ... ไว้ตอนต่อๆ ไปจะกล่าวถึงการ"ตั้งค่า"ต่างๆ ของกล้อง D7000 (กล้องรุ่นอื่นๆ ก็ทำตามคู่มือที่ให้มานะครับ) .../สวัสดี

ไม่มีความคิดเห็น :