Smile Cycling

ฝันเล็กๆ ในการเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยาน

ลั่นกล้อง : การ Fine Tune White Balance (Shift)

ไม่มีความคิดเห็น
     จากบทความก่อนนี้เรื่อง การใช้งาน White Balance ขั้นพื้นฐาน ได้มีการพูดเลยไปถึงการ Fine Tune white Balance (Shift สี) ที่จริงเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกัน แต่กลัวว่าบทความจะยาวเกินนิยามว่า"ขั้นพื้นฐาน" เลยขอยกมาขึ้นบทความใหม่

     ขอเอ่ยถึง"ทฤษฏีสี" สักเล็กน้อย ในส่วนของรายละเอียดระบบสี RGB  แดง(255-0-0) - เขียว(0-255-0) - น้ำเงิน(0-0-255) และชุดสี ฟ้าคราม(0-255-255) - ม่วง(255-0-255) - เหลือง(255-255-0) ...
ภาพที่ 1 ขอบคุณภาพจาก

http://ktrcom.blogspot.com/2015/12/photoshop.html

     ก่อนจะเลยคำว่าพื้นฐานไปถึง"ทฤษฏีสี" ขอเบรคๆ ไว้ก่อน ... เอาแค่ว่าระบบสี RGB ที่เราใช้ในการถ่ายภาพ(จอภาพก็ด้วย) มีสี แดง(R) - เขียว(G) - น้ำเงิน(B) เป็นแม่สี เมื่อผสมกันเป็นคู่ๆ ก็จะเกิดชุดสี ฟ้าคราม(C) - ม่วง(M) - เหลือง(Y) ... ชักเริ่มงง เอาสั้นๆ
  1. - แดง + เขียว = เหลือง
  2. - เขียว + น้ำเงิน = ฟ้าคราม
  3. - น้ำเงิน + แดง = ม่วง
ตอนนี้เรามีสีหลักๆ 6 สี ลองมองคู่สีทั้ง 6 ที่อยู่ตรงข้าม ... จะได้ว่า R#C, G#M, B#Y นั่นคือ
  1. = สีแดง (R) จะตรงข้าม สีฟ้าคราม (C)
  2. = สีเขียว (G) จะตรงข้าม สีม่วง (M)
  3. = สีน้ำเงิน (B) จะตรงข้าม สีเหลือง (Y)
      เพื่อให้เข้าใจเรื่องง่ายขึ้น ขออ้างอิงวงล้อสี R-G-B / C-M-Y ในระบบสี RGB ... ให้สังเกตสีตรงข้าม ที่ระดับมือโปรเขาใช้ในการแก้ค่าสีเพื่อให้ภาพที่มีสีถูกต้อง ... หมายถึงถ้ามีวัตถุสีขาว ก็จะถ่ายภาพออกมาได้สีขาวที่ถูกต้อง หรือใกล้เคียงสีขาวมากที่สุด จึงเป็นที่มาที่เราเรียกว่า white balance นั่นเองครับ

     เวลาเราถ่ายรูป กล้องจะมี White Balance  มาให้เลือกใช้หลายค่า เพื่อจะทำให้ภาพที่ได้มีสีที่ถูกต้อง ตามสภาพแสงที่แปรเปลี่ยนไป ... เคยใช้ Auto White Balance ถ่ายภาพกลางคืนแล้วหน้าออกมาเขียวๆ หรือแดงส้มๆ ไหมครับ

- กรณีที่ (1) อยู่ในห้องที่มีหลอดไส้แบบเก่า เราเรียกว่าหลอดทังสเตน ... แสงของหลอดไฟทังสเตน เกิดจากความร้อนที่ไส้หลอด แสงที่ออกมาจะเป็นพลังงานที่เกิดจากการกระโดดของอิเล็กตรอนของไส้หลอดมันให้แสงที่สีที่เราเห็นจะออกแนวส้มๆ ใช่มั้ยครับ ... ภาพที่ได้หรือหน้าคนจะออกส้มๆ ไปด้วย White Balance ในกล้องก็จะทำการแก้สี เหมือนใช้ filter ที่จะให้ค่าแสงถูกต้อง หน้าไม่ส้มจนเกินไป โดยเลือกใช้สีออกไปทาง ฟ้าๆ  ซึ่งเป็นคู่สีตรงข้าม

- กรณีที่ (2) อยู่ในห้องที่มีหลอดฟลูออเรสเซนท์ หรือเราเรียกว่าหลอดนีออน ... แสงของหลอดชนิดนี้เกิดจากหลักการที่ทำให้ก๊าซคลอรีนเรืองแสง (สีของคลอรีน โดยทางเคมีแล้วคือสีเขียว) ... ภาพที่ได้หรือหน้าคนจะออก เขียวๆ ไปด้วยแต่บางทีดูด้วยตาเปล่าเห็นว่าขาว White Balance ในกล้องก็จะทำการแก้สี เหมือนใช้ filter ที่จะให้ค่าแสงถูกต้อง โดยเลือกใช้สีออกม่วงๆ หรือสีบานเย็น ซึ่งเป็นคู่สีตรงข้ามเช่นกัน

- กรณีที่ (3) ในวันที่มีแดดใสๆ แสงจะมีโทนอยู่ระหว่าง Cyan กับ Blue (ดูวงเวียนสีประกอบ) จะได้ภาพโทนสีฟ้าอมน้ำเงิน ... (แดดดีๆ ใสๆ รังสี UV ก็ตามมามากด้วย) เพราะฉะนั้นแสงที่ถูกต้องที่กล้องควรจะบันทึกคือ ต้องใส่ filter ที่มีสีตรงข้ามกัน คือสี ส้มๆ อม ชมพู ก็เหมือนแก้ทางกันนะเอง
ทีนี้หากมองกลับกันที่ "สภาพแสงปกติ" แต่เรายังคงใส่ Filter สี หรือ ตั้งค่า White Balance ไว้อย่างเดิม โทนสีของภาพก็จะได้สีออกไปทาง ฟ้าๆ - ม่วงๆ - ชมพูๆ ตามลำดับ
     จึงเป็นที่มาของคำว่า "ย้อมสีภาพ" หมายถึงในสภาพแสงปกติ แต่เราต้องการโทนสีของภาพให้แตกต่างออกไป เช่น อยากได้โทนภาพออกทางสีฟ้าๆ ที่ให้ความรู้สึกเย็นๆ สงบๆ เราก็ตั้งค่า White Balance ไปที่ Incandescent เพื่อหลอกกล้องว่าตอนนี้กำลังจะถ่ายภายใต้สภาวะแสงสีส้ม CPU ของกล้องเลยสั่งให้หา Filter สีฟ้ามาใส่รอไว้เลย ... ประมาณนั้น


ถึงจุดนี้อาจยากไปอีกระดับ บางท่านอ่านแล้ว มึน-งง ก็แนะนำว่าพักไว้ก่อน ... สำหรับท่านที่คิดว่ายังรับได้อยู่ก็ขอต่ออีกนิด จะได้ครบถ้วนกระบวนความถ้วนกนะบวนความเรื่อง White Balance

  • Q: ถามว่าทำไมต้อง Shift สีใน white Balance?
  • A: เพราะสภาพแสงจริง ณ ขณะนั้น ไม่มีค่า white Balance ใดให้โทนภาพที่ถูกต้อง
     การทำ Shift white Balance หรือ White Balance Shift เหมือนกับการปรับละเอียด (Fine Tuning) ดังนั้นมันมีขอบเขตจำกัดของมัน ใช่ว่าจะสามารถปรับข้ามไปข้ามมาของ White Balance ที่กล้องกำหนดไว้ให้ เพื่อไม่เสียเวลาเรามาทำความเข้าใจตามภาพนี้กัน (เป็นการอ้างอิงจากกล้องนิคอน - Auto White Balance Shift)


ภาพที่ 2 ขอบคุณภาพจาก ... http://www.chalaom.com/forums/?action=dlattach;topic=304.0
จากตาราง shift สี อธิบายได้ดังนี้
- A = Amber --> สีอำพัน
- M = Magenta --> สีม่วงอมชมพู
- B = Blue --> สีน้ำเงิน
- G = Green --> สีเขียว
... โดยที่ Amber กับ Blue จะอยู่ในแกน x ส่วน Green กับ Magenta จะอยู่ในแกน y
  • - ภาพ (1) คือ 0,0 แสดงว่าไม่มีการ shift ค่าสี 
  • - ภาพ (2) คือ B0,0 แสดงว่ามีการ shift ค่าสี น้ำเงิน (B) ไป 3 หน่วย
  • - ภาพ (3) และ (4) ทางเจ้าของบทความเดิมเขาต้องการแก้ภาพที่ติดสีฟ้าอมเขียว โดยการใช้สีส้มอมแดง (A3,M3) ซึ่งเป็นคู่สีตรงข้ามเข้าไปแก้ ... 
     ต้องลองทำดูนะครับ แต่ให้จำไว้ว่า"ถ้าสภาพแสงปกติ แล้วเราทำ White Balance Shift ก็จะเป็นการย้อมสีภาพ ซึ่งจะทำให้สับสนในกาารทำความเข้าใจ
     ขอออกตัวก่อนนะครับว่า ผู้เขียนเองก็ไม่ชำนาญเรื่องนี้ ขณะที่เขียนบทความนี้เป็นช่วงที่กำลังทำความเข้าใจ... ที่ใช้อยู่คือ b2m2 เพื่อชดเชยกล้อง D7000 ของผมที่รู้สึกว่าภาพออกมาทองเหลืองๆ ส้มๆ
     ขอยกตัวอย่างโจทย์จากผู้มีประสบการณ์ เขียนไว้ตามเว็บบอร์ดต่างๆ เผื่อมีโอกาสได้ไปฝึกถ่ายหาคำตอบ
     1. ถ่ายพระเดินอยู่กลางทุ่งนายามเช้า จีวรก็ส้ม แดดก็ส้ม แต่ทุ่งนาต้นขาวสีเขียว หากต้องการให้มันดูสีถูกต้องเราอาจจะ Shift ฟ้าเข้าไปสักหน่อยก็ได้ เพราะ...แดดกับจีวรสีส้มแล้ว โดนสีฟ้าเข้าไปสียังไม่เปลี่ยนหรอก แต่ต้นข้าวจากที่โดนแสงแดดตอนเช้าเมื่อโดน Shift สีเข้าไปแล้ว สีเขียวจากต้นหญ้าจะดีสดขึ้น เหลืองจากแดดที่ลงมาที่ต้นข้าวเบาลง (จาก ... http://www.taklong.com/canon/show-canon.php?No=478447)

      2. หากเป็นงานพิธีการ เราจะมามัวตั้งค่าไวท์บาลานซ์แบบกำหนดเอง ก็ไม่ทันกิน งานพิธีการมันจะผ่านเลยเราไปแล้วอาจจะผลาดนาทีทองไปได้ ดังนั้นจำเป็นต้อง ชิบ Shift ไวท์บาลานซ์เอง ผู้เขียนจะชิบไวบาล้าน ออโต มาทางสีฟ้า-น้ำเงินสัก 4 ช่อง เป็นการปรับขั้นต้นเท่านั้น ในการงานพิธีการโรงแรม โรงเรียน อาคาร ที่สีอุณหภูมิสีร้อน เป็นการปรับเบื้องต้น (http://www.chanwity.com/page/view/105)

ไม่มีความคิดเห็น :