ลั่นกล้อง : การใช้งาน White Balance ขั้นพื้นฐาน
วันนี้ได้อ่านบทความเก่าๆ เรื่อง White Balance จาก www.chalaom.com... กลัวจะลืมอีกจึงมาเขียนบันทึกไว้"กันลืม" จริงๆ แล้วมันก็ทำงานของมันเองอัตโนมัติเมื่อเราถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล เพราะค่าเดิมๆ จากโรงงานกำหนดไว้เป็น Auto White Balance อยู่แล้ว เราเพียงเล็งไปที่วัตถุที่ต้องการแล้วกด shutter ก็จะได้ภาพมาตามที่ต้องการ
กระบวนการถ่ายภาพจริงๆ มีหลายเรื่องที่เกี่ยวข้อง จึงไม่รู้จะเริ่มต้นทบทวนจากตรงจุดไหนดี หรือจะจัดลำดับก่อนหลังยังไง เช่น เรื่องตัวกล้อง, เรื่องเลนส์, เรื่องโหมดการถ่าย, เรื่องการวัดแสงรวมถึงการชดเชยแสง และอีกหลายต่อหลายเรื่อง และเรื่องที่จะพูดถึงตอนนี้คือเรื่อง White Balance
White Balance เป็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง"สี" ในการถ่ายภาพ เป็นแนวสีรวมๆ ที่เรามักได้ยินเขาเรียก"โทนสีของภาพ" ... การที่เราถ่ายภาพมา 1 ใบ โทนสีของภาพที่ได้จะอยู่ใน 3 ความรู้สึกนี้ (จริงๆ มีแค่ 2 ตัวเลือก คือถูกต้อง กับ ถูกใจ)
- 1. โทนสีถูกต้อง ตามที่ตาเห็น
- 2. โทนสีถูกต้อง ตามความจริง
- 3. โทนสีถูกใจ ตามที่ต้องการ
ลองนึกๆ ดูว่าเราถ่ายภาพมา 1 ภาพ เราได้ตามข้อไหน สำหรับผู้เขียนเองถ้าถ่ายได้ 1 ใน 3 ก็จะพอใจมากๆ แล้ว (รู้สึกเทพ) ... แต่ตอนนี้ถ่ายมาเป็นภาพที่ไม่อยากได้ ดันไปเข้าหัวข้อที่ 4 "ได้โทนสีตามที่กล้องจะประทานมา" เลยไม่ได้พัฒนาไปถึงไหนสักที
มาดูตัวอย่างภาพที่ผู้เขียนพยายามถ่ายมา (คหสต.นะครับ)
ภาพที่ 1 ถูกตามที่ตาเห็น (1) |
ภาพที่ 2 ถูกต้องตามความจริง (2) โปรเซสแก้ฯ ด้วยโปรแกรม |
ภาพที่ 3 ถูกต้องตามสภาพแสงจริง (2) จบหลังกล้อง |
ภาพที่ 4 "ถูกใจ" สะใจ (3) |
ในความเห็นส่วนตัว ถ้าให้จัดลำดับความยากสุด ไปง่ายสุด (จริงๆ ไม่มีอะไรง่ายเลย) คือ ถ่ายให้ได้ภาพถูกต้องตามสภาพแสงขณะนั้น รองลงมาคือ ถูกต้องตามที่ตาเห็น และสุดท้าย "ถูกใจ" (ตรู คนเดว) ... ที่จัดอันดับ"ถูกใจ" ไว้หลังสุด เพราะถ่ายออกมาบางครั้งได้ผลแบบฟลุ๊คๆ เราก็พอใจ
การถ่ายภาพให้ได้โทนสีของภาพถูกต้องตามสภาพแสงขณะนั้น เช่น ถ่ายกระดาษ A4 สีขาว แต่ย้ายสถานที่เช่น ในห้องที่เปิดไฟ, ในห้องที่มีแสงธรรมชาติ, ใต้ต้นไม้ และ กลางแจ้ง ... ทุกสถานที่สภาพแสงเปลี่ยนไป แต่กระดาษ A4 สีขาว ไม่เปลี่ยน ดังนั้นคำว่า"ถูกต้อง" คือต้องถ่ายให้ทุกภาพกระดาษออกมา "ขาว" เหมือนกันทุกภาพ และถ้าใครทำได้อยู่แล้ว ปิดหน้านี้ไปเลยครับ เพราะจะไม่ประโยชน์ที่จะอ่านต่อไ
+++
Q: ถามว่า Auto White Balance ดีไหม?A: จริงๆ ต้องตอบว่าดี ถึงดีมากๆ
Q: แล้วเราต้องไปรู้เรื่องมันมาก ไปให้รกสมองทำไม
A: อันนี้ตอบยากครับ ... เพราะถ้าในความเป็นจริง กล้องถ่ายรูปแบบดิจิตอล ทำงานได้อัตโนมัติตามชื่อ "Auto" แล้วก็จริง แต่มันถูกโปรแกรมมา พอเจอสภาพแสงบางสถานการณ์ Auto White Balance หรือเรียกสั้นๆ AWB ก็เอาไม่อยู่
เพื่อให้เห็นภาพว่า Auto White Balance มีความสำคัญอย่างไร จึงขอยกตัวอย่างภาพประกอบอีกดังนี้ครับ
ทั้ง 2 ภาพถ่ายต่อเนื่องกันในเหตุการณ์จริง ... ภาพที่ 6 สังเกตว่าสีจะผิดเพี้ยนไปมากกว่าภาพที่ 5 เพราะขณะกด Shutter ถ่ายภาพที่ 6 ทางเวทีเปิดไฟเพิ่มขึ้นมาอีกสี หาก Auto White Balance ทำงานได้อัตโนมัติถูกต้องจริงตามชื่อเราคงได้ภาพที่โทนสีใกล้เคียงกัน (ตัวอย่างกรณีนี้อาจไม่ตรงหลักการนัก โดยที่ค่าสภาพแสงในห้องจัดเลี้ยงมักเป็นแบบนี้อยู่แล้ว)
ถึงตอนนี้พอจะมองออกแล้วยังว่า White Balance มีผลยังไง ... เมื่อเอาภาพมาปรับแต่งในโปรแกรมแต่งภาพ ก็จะได้ภาพออกมาดัง ภาพที่ 7 ที่ใกล้เคียงความจริง
+++
ขอย้อนกลับไปที่พื้นฐานการถ่ายภาพในเรื่องของแสง ยกตัวอย่างเราเห็นธงไตรรงค์ สีแดง-ขาว-น้ำเงิน นั้นเพราะแสงสะท้อนจากธงฯ วิ่งเข้าสู่ตาเราครับ ... วัตถุที่เราเห็นมีสีอะไร? คือ วัตถุนั้นสะท้อนแสงนั้นเข้าตาเราครับ .. และในความหมายตรงข้ามกันวัตถุนั้นก็ดูดกลืนแสง(สี)ที่เรามองไม่เห็นจากวัตถุนั้นเช่นกันครับภาพที่ 8 Credit : http://snapsnapsnap.photos/a-beginners-guide-for-manual-controls-in-iphone-photography-white-balance/ |
ภาพที่ 9 ได้แก่ แดง - ส้ม - เหลือง - เขียว - ฟ้าคราม - น้ำเงิน และ ม่วง |
ถ้าเราเอาแถบสีทั้ง 7 มาม้วนเป็นวง (สีม่วง ติดกับ สีแดง) เราก็จะได้วงล้อสี หรือภาษาปะกิดว่า Color Wheel ดังรูปถัดไป
ภาพที่ 10 คุณภาพจาก http://teerawat-mmd.blogspot.com/2010/09/blog-post_18.html |
เอาละกลับมาที่เดิมซะที การตั้งค่า White Balance หรือการเอา Filter สีมาใส่หน้าเลนส์ (สมัยกล้องฟีล์ม) แต่กรณีปัจจุบันนี้เขาใส่ในกล้องไว้แล้ว ให้เราเลือกใช้เอา ... หากย้อนกลับขึ้นไปดูภาพที่ 6 จะเห็นว่าติดไปทางสีเหลืองๆ ส้มๆ แดงๆ หากจะแก้โดยใช้หลักการสีตรงข้าม ก็เลือกใช้ White Balance ที่มีสีฟ้าๆ น้ำเงินๆ เข้าไปแก้
Q: ก็จะมีคำถามต่อมาว่า White Balance ที่มีสีฟ้าๆ น้ำเงินๆ ไปเลือกใช้จากไหน?
A: คำตอบก็คือ ก้มดูที่กล้อง เปิดเมนูมาดูว่าปัจจุบัน White Balance ถูกตั้งไว้ที่ค่าไหน? ... เอาละซิ งงเข้าไปใหญ่
งั้นมาดูกันว่ากล้องทั่วๆ ไปกำหนดค่า White Balance ไว้อย่างไร ลองมาดู White Balance แบบต่างๆ กันบ้าง (อ้างอิงจากกล้องนิคอน D7000)
ภาพที่ 11 ขอบคุณภาพจาก ... http://www.chalaom.com/forums/?topic=304.0 |
- 1. Auto => ระบบนี้กล้องจะเลือกให้เองว่าจะตั้ง White Balance แบบไหน
- 2. Incandescent => หลอดหัวกลมที่มีไฟสีส้มๆ หรือที่เราเรียกันว่าหลอดใส้
- 3. Fluorescent => หลอดผอม หรือที่เราเรียกติดปากว่า"หลอดนีออน"
- 4. Direct sunlight => แสงจากดวงอาทิตย์
- 5. Flash => แสงจาก Flash
- 6. Cloudy => เมฆมาก หรือแสงแดดน้อย
- 7. Shade => บริเวณที่อยู่ในเงา
- 8. Color temp(K) => เลือกอุณหภูมิสีเอง(รุ่นเล็กบางรุ่นไม่มี)
*** ก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่า White Balance ทั้ง 8 ข้อที่ยกมา มีการใส่ Filter สีอะไร ***
ภาพที่ 12 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท |
ตัวอย่างอุณหภูมิสีที่ยกมา เป็นอุณหภูมสีที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่า 1,000k - 10,000k ... ทางผู้ผลิตกล้องได้ทำการจับช่วงแสงที่ใช้บ่อยๆ มาเป็นกลุ่มๆ ได้ 7 กลุ่มข้างบน หรือจะเรียกว่าเมนู หรือ ฟังชั่น ก็ไม่ผิด (Incandescent, Fluorescent, Direct sunlight, Flash, Cloudy, Shade) และกำหนดกลุ่มกว้างๆ ที่ครอบคลุมฯ และใช้ชื่อ "Auto White Balance" ... ส่วนกลุ่มหรือเมนูสุดท้ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ตั้งค่าเอาเองตามใจชอบ "Custom Color temp" และเมื่อเอาชื่อกลุ่มฟังชั่น White Balance มาเทียบกับค่ากับช่วงอุณหภูมิสี จะได้ดังภาพที่ 12
ภาพที่ 12 ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ท (D7000) |
- - Auto --> 3500k - 8000k
- - Shade --> 8000k
- - Cloudy --> 6000k
- - Flash --> 5400k
- - Direct sunlight --> 5200k
- - Incandescent --> 3000k
- - Fluorescent --> 2700k
- - Color temp(K) --> เลือกอุณหภูมิสีเองช่วง 2000k-10000k
... แต่ถ้าหากลองเปลี่ยนแล้วไม่ดีขึ้นหรือไม่ได้ดั่งใจ ก็ถึงคราวที่ต้องแก้สีกันจริงๆ โดยใช้การ shift สี หรือ Fine Tune White Balance (ติดตามได้จากบทความ White Balance - Shift ) ...
จากที่เคยพูดถึงการ"ย้อมสีภาพ"ว่าถ้าเราถ่ายภาพในสภาวะแสงปกติช่วงกลางวัน ที่มีอุณหภูมิสีประมาณ 5200k แล้วเราเลือกใช้ White Balance แบบ Direct sunlight เราจะได้โทนสีของภาพที่ถูกต้อง ทีนี้ถ้าเราถ่ายภาพตอนเช้าหรือเย็นที่มีฟ้าสีออกส้มๆ เรามักใช้ Cloudy หรือ Shade จะได้ท้องฟ้าสีทองจับใจ ... แต่ถ้าเราไปเลือกใช้ Fluorescent ท้องฟ้าจะกลายเป็นสีน้ำเงินเข้มดังรูปที่ 4 ก็จะเป็นการ"ย้อมสีภาพ เพื่อให้ได้ภาพที่ถูกใจ"
สำหรับการตั้งค่า White Balance แบบกำหนดค่า Color Temperature (K) เองนั้นผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจขั้นสูงในการวิเคราะห์ค่าสภาวะแสงในขณะนั้นๆ ณ ที่นี้ขอเอาคลิปวีดีโอมาฝากให้ทำความเข้าใจไปพลางก่อน ...
- หากเราเลือกใช้ White Balance แบบ Shade โทนสีภาพจะออกไปทาง เหลืองอมส้ม
- หากเราเลือกใช้ White Balance แบบ Flouorescent โทนสีภาพจะออกไปทาง ฟ้าอมน้ำเงิน
สรุปใจความหลักๆ อีกที...
- 1. เลือกเอาว่าจะถ่ายภาพให้ได้โทนสีที่ถูกต้อง หรือ ถูกใจ
- 2. แบบ"ถูกต้อง" ... ถ่ายภายใต้สภาพแสงแบบไหน... ก็ให้ตั้ง White Balance แบบนั้น แม้ว่าในบางครั้งเราตั้ง White Balance แล้วแต่สีเพี้ยนหรือยังไม่ตรง... ก็สามารถปรับละเอียด ด้วยการ Shift หรือ Fine Tune White Balance
- 3. แบบ"ถูกใจ" ... สามารถใช้ White Balance ย้อมสีรูปให้เป็นอย่างที่ต้องการได้
- 4. ด้วยหลักการเรียนรู้ เราต้องถ่ายภาพให้ได้โทนสีที่ถูกต้อง สีแบบหรือวัตถุถูกต้อง (ตามตัวอย่างกระดาษขาว A4 )
... ท้ายนี้ก็ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก ... http://www.chalaom.com/forums/?topic=304.0 ไว้อีกครั้ง หรือหากใครสนใจจะซื้อเป็นหนังสือกระดาษอย่างดีมาไว้อ่านก็แนะนำเล่มนี้เลยครับ ... สวัสดี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น
(
Atom
)
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น