ลั่นกล้อง : แสง+สี=การถ่ายภาพ
... ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนว่าข้อมูลต่อจากนี้เป็นการคัดย่อจากการอ่านไฟล์ PDF หรือ จากเว็บไซต์ต่างๆ เช่นเอกสารฉบับที่ชื่อ [ไทย] ทฤษฎีสี , หรือ ทฤษฎีสี ... ใครสนใจโหลดไปอ่านได้นะครับ และขอขอบคุณผู้ที่เสียสละเวลาเขียนบทความสาระความรู้ไว้ ณ ที่นี้อย่างสูงครับความหมายของทฤษฎีสี
- ทฤษฎี หมายถึง ความจริงที่ได้พิสูจน์แล้ว หรือ หลักวิชา
- สี หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาเรา ทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ
ดังนั้น ทฤษฎีสี หมายถึง หลักวิชาเกี่ยวกับสีที่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา
ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสี
สรรพสิ่งทั้งหมายในจักรวาลประกอบไปด้วยสี ดังนั้นสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์จึงประกอบไปด้วยสี สีจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สีที่เกิดจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่น สีของแสง สีผิวของวัตถุตามธรรมชาติ
2. สีที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น สีของแสงไฟฟ้า สีของพลุ สีที่ใช้เขียนภาพ และย้อมสีวัสดุต่างๆ
จิตวิทยาแห่งสี (psychology of colors)
การใช้สีให้สอดคล้องับหลักจิตวิทยา จะต้องเข้าใจว่าสีใดให้ความรู้สึกต่อมนุษย์อย่างไร จึงจะใช้ได้อย่างเหมาะสม ความรู้สึกเกี่ยวกับสี สามารถจำแนกออกได้ดังนี้
- สีแดง ให้ความรู้สึกอันตราย เร่าร้อน รุนแรง มั่นคง อุดมสมบูรณ์
- สีส้ม ให้ความรู้สึกสว่าง เร่าร้อน ฉูดฉาด
- สีเหลือง ให้ความรู้สึกสว่าง สดใส สดชื่น ระวัง
- สีเขียว ให้ความรู้สึกงอกงาม พักผ่อน สดชื่น
- สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย สง่างาม ทึม
- สีม่วง ให้ความรู้สึกหนัก สงบ มีเลศนัย
- สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเก่า หนัก สงบเงียบ
- สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส
- สีดำ ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน
แม่สี
แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม สีที่ใช้จะมาจากการผสมของแม่สี แม่สีมีหลายประเภท ดังนั้นจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับแม่สีให้ดีเสียก่อน จึงจะสามารถนำสีไปใช้ได้อย่างถูกต้อง แม่สีที่ใช้มีดังต่อไปนี้
- 1. ทฤษฏีสีตามหลักวิชาฟิสิกส์ หรือ แม่สีของแสง (Spectrum primaries)
- 2. ทฤษฏีสีตามหลักวิชาเคมี หรือ แม่สีวัตถุธาตุ (Pigmentary primaries)
- 3. ทฤษฏีสีตามหลักวิชาจิตวิทยา หรือแม่สีของนักออกแบบ
- 4. ทฤษฏีสีของมันเซลล์
ถ้าอธิบายตามต้นฉบับจริงคงยาวจนเบื่อที่จะอ่าน ดังนั้นขอสรุปย่อเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ / พิมพ์ภาพ เฉพาะลำดับที่ 1 และ 2 เท่านั้น สำหรับใครที่ต้องการรายละเอียดคงต้องหาอ่านจากตำราทางวิชาการจริงๆ แล้วละครับ
1. แม่สีทางแสง หรือ แม่สีของนักฟิสิกส์ (spectrum primaries)
ต่อไปผมจะเรียกว่า"ระบบสี RGB" มีแม่สี แดง(R) - เขียว(G) - น้ำเงิน(B) เมื่อนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันทีละคู่ จะได้ เหลือง(Y) - คราม(C) - ม่วง(M) ตามลำดับ และถ้ารวมกันทั้งหมดจะเป็น สีขาว (Luminance)
ต่อไปผมจะเรียกว่า"ระบบสี RGB" มีแม่สี แดง(R) - เขียว(G) - น้ำเงิน(B) เมื่อนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันทีละคู่ จะได้ เหลือง(Y) - คราม(C) - ม่วง(M) ตามลำดับ และถ้ารวมกันทั้งหมดจะเป็น สีขาว (Luminance)
2. แม่สีวัตถุธาตุ หรือ แม่สีของนักเคมี (pigmentary primaries)
มีแม่สี แดง(R) - เหลือง(Y) - น้ำเงิน(B) เมื่อนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันทีละคู่ จะได้ ส้ม(A) - เขียว(G) - ม่วง(M) ตามลำดับ และถ้ารวมกันทั้งหมดจะเป็นสี ดำ(K)
ผมเองสับสนกับสี 2 ระบบนี้มานานเหมือนกัน สมัยเรียนประถมรู้ว่าแม่สีมี 3 สี คือ แดง-เหลือ-น้ำเงิน ... ต่อมาเรียนระดับ ปวช.อิเลคทรอนิกส์ ก็มารู้ว่ามีแม่สี RGB คือ แดง-เขียว-น้ำเงิน เป็นโครงสร้างหลักของหลอดภาพทีวีสี โดยมีอัตรส่วนผสม 11%-59%-30% ดังนั้นเวลาซ่อมทีวีสีภาพหลอดภาพจะต้องปรับจอให้ได้สีขาว
... มาถึงปัจจุบันศึกษาการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล (เคยใช้มาตั้งแต่สมัยกล้องฟีล์ม) ก็มาพบกับระบบ RGB นี้อีกครั้ง แต่คราวนี้เขาไม่พูดถึง (%) การผสมสี 11-59-30 ก็ยังคง RGB และที่เพิ่มมาคือ CMYK อันนี้แค่สั้นๆ ที่คุ้นเคย ยังมีที่ลึกซึ้งซับซ้อนที่ยังไม่กล่าวถึง (และอย่าไปกล่าวถึงมันเลย)
... มาถึงปัจจุบันศึกษาการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล (เคยใช้มาตั้งแต่สมัยกล้องฟีล์ม) ก็มาพบกับระบบ RGB นี้อีกครั้ง แต่คราวนี้เขาไม่พูดถึง (%) การผสมสี 11-59-30 ก็ยังคง RGB และที่เพิ่มมาคือ CMYK อันนี้แค่สั้นๆ ที่คุ้นเคย ยังมีที่ลึกซึ้งซับซ้อนที่ยังไม่กล่าวถึง (และอย่าไปกล่าวถึงมันเลย)
เรากลับมาเรื่องของเรา" แสง+สี=การถ่ายภาพ" กันดีกว่าว่ามันเกี่ยวข้องกับระบบสีใดบ้าง อย่างไร ... ด้วยหลักการของการถ่ายภาพคือการบันทึกแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุ ลงบนแผ่นฟีล์มหรือแผงรับแสง ( CCD ) ผลลัพท์จะออกมาทางแผ่นกระดาษ หรือ ไฟล์คอมพิวเตอร์
สมมุติว่าเราถ่ายรูปธงชาติไทย ที่อยู่กล้างแจ้ง นั่นหมายถึงว่าแหล่งกำเหนิดแสงมาจากดวงอาทิตย์ แล้วสะท้องกับผืนผ้าไตรรงค์
***
- สีกลมกลืน ... สีสันเดียวกัน, สีใกล้เคียงกัน, สีในวรรณเดียวกัน
- สีแตกต่าง ... สีตรงข้าม
- สีสมดุล ... ใช้หลีกสี 3 เส้า, พื้นที่สี สมดุล กับความสว่างสี
***
สมมุติว่าเราถ่ายรูปธงชาติไทย ที่อยู่กล้างแจ้ง นั่นหมายถึงว่าแหล่งกำเหนิดแสงมาจากดวงอาทิตย์ แล้วสะท้องกับผืนผ้าไตรรงค์
- - แถบสีแดง จะดูดกลืนสีอื่นไว้หมด สะท้อนเฉพาะสีแดงออกมา
- - แถบสีขาว จะดูดกลืนสีอื่นไว้หมด สะท้อนเฉพาะสีขาวออกมา
- - แถบสีน้ำเงิน จะดูดกลืนสีอื่นไว้หมด สะท้อนเฉพาะสีน้ำเงินออกมา
สีของธงไตรรงค์ เป็นไปตามแม่สีของวัตถุธาตุ ที่มีแม่สี แดง-เหลือ-น้ำเงิน ... หลังจากแสงสีแดง, ขาว และน้ำเงิน ผ่านเลนส์กล้องถ่ายรูปถึงแผ่นวงจรรับแสง (CCD) แล้วแสดงผลทางหลังกล้องดิจิตอล ตอนนี้ระบบสีเปลี่ยนไปใช้ระบบ RGB แล้วละครับ ... งงไหมครับเนี่ย
ดังนั้นการจะถ่ายภาพมา 1 ภาพ ต้องเกี่ยวข้องกับระบบสีทั้ง 2 ระบบ (เคมี - พิสิกส์) ซึ่งภาพที่ได้จะสวยสมจริงแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสีของ 2 ระบบนี้
- - สีทางเคมี หรือสีของวัตถุธาตุ ถ้าเป็นการออกแบบจัดวางเราก็สามารถใช้หลักการของสีมาจัดวางให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ
- - สีทางฟิสิกส์ หรือสีทางแสงนั้น อยู่ที่การออกแบบระบบกล้องโดยผู้ใช้กล้องก็ยังสามารถปรับแต่ระบบสีให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ภาพออกมาเป็นจริงตามที่ตาเห็น ตัวอย่างเช่นการตั้งค่า White balance (ง่ายๆ คือ ถ้าตั้งได้ถูกต้องถ่ายภาพวัตถุสีขาว ก็จะได้ภาพออกมาขาว ไม่ใช่ขาวอมเหลือง หรือขามอมฟ้า อย่างนี้เป็นต้น
ระบบสีทางแสงหรือระบบ RGB ได้กล่าวไว้แล้วเบื้องต้นในบทความเรื่อง การใช้งาน White Balance ขั้นพิ้นฐาน ... บทความนี้จะขอกล่าวถึงสีในทางเคมีหรือวัตถุธาตุ ที่จะมีผลในการถ่ายภาพ ว่าเมื่อเราพบสถานที่หรือวัตถุที่มีสีเหล่านี้ เราจะถ่ายภาพเหล่านั้นออกมาให้มีความน่าสนใจได้อย่างไร (ไม่นับถึงการออกแบบทางด้านกราฟฟิกนะครับ อันนั้นยิ่งยากขึ้นไปอีก) เอาแค่ว่าเราถือกล้องถ่ายรูปไปเที่ยวแล้วพบเจอ เราจะถ่ายนั้นๆ มา
***
- สีกลมกลืน ... สีสันเดียวกัน, สีใกล้เคียงกัน, สีในวรรณเดียวกัน
- สีแตกต่าง ... สีตรงข้าม
- สีสมดุล ... ใช้หลีกสี 3 เส้า, พื้นที่สี สมดุล กับความสว่างสี
***
บทสรุป (คัดย่อเขามา)
- สี มีความสำคัญต่องานออกแบบในระบบกราฟิก ทั้งการถ่ายภาพและสิ่งพิมพ์ เพราะจะทำให้ได้ภาพที่มีความสดใสสวยงาม น่าสนใจ และสื่อความหมายได้ถูกต้อง
- สี กับการนำไปใช้ในงานออกแบบ หลักๆ เขาใช้กัน 3 กรณีคือ สีกลมกลืน, สีแตกต่าง และ สีสมดุล
- สี บ่งบอกถึงความรูสึก, บอกขนาด, บอกระยะ และบอกถึงการเคลื่อนไหว
อ้างอิง
... http://www.math.cmru.ac.th/web56/option/doc_document/1378538114.pdf
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น
(
Atom
)
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น