Smile Cycling

ฝันเล็กๆ ในการเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยาน

Nikon Coolpix AW130 : การถ่ายภาพยนตร์และคลิปวิดีโอ

ไม่มีความคิดเห็น
เครดิตภาพจากอินเตอร์เนต
     เป็นบันทึกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการใช้กล้อง Nikon Coolpix AW130 ในโหมดการถ่ายคลิปวิดีโอ แม้ไม่ใช่คุณสมบัติที่โดดเล่นของกล้องรุ่นนี้ แต่คุณสมบัตินี้อำนวยความสะดวกในการบันทึกภาพความทรงจำในการท่องเที่ยวกับครอบครัวอันเป็นที่รัก
     จริงๆ แล้วกล้องเขาออกแบบมาให้ใช้งานง่าย แต่เราก็ควรทำความเข้าใจถึงความสามารถในแต่ละฟังชั่น บางทีเราวาดฝันไปไกลกว่าความสามารถของกล้อง อาจทำให้รู้สึกผิดหวัง สุดท้ายก็สรุปว่ากล้องไม่ดี
    เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ... หากคิดจะใช้ถ่ายคลิปวีดีโอ Nikon Coolpix AW130 สามารถถ่ายวิดีโอได้ใน 3 ลักษณะ โดยฟอร์แมทไฟล์ที่ได้เป็น H.264/Mpeg-4 AVC นามสกุล .MOV

  • ถ่าย ภาพยนตร์ (Movie)
  • ถ่าย หนังเหลื่อมเวลา (Time lapse)
  • ถ่าย หนังสั้น (Short movie)

     ก่อนอื่นขอแนะนำปุ่มต่างๆ ตามลำดับหมาเลขระบุดังภาพ
เครดิตภาพจากคู่มือการใช้งาน

เครดิตภาพจากอินเตอร์เนต


1 การถ่ายภาพยนตร์ (Movies)
     อันนี้ง่ายที่สุด แค่กดปุ่มหมายเลข 5 กล้องจะเริ่มบันทึกภาพทันที และจะหยุดเมื่อกดปุ่มนี้อีกครั้ง (ประเด็นนี้ขอข้ามไปนะ มันง่ายๆ แค่นี้เอง) ส่วนรายละเอียดการเลือกขนาดคลิปวีดีโอ ดูที่ย่อหน้า "ขั้นตอนการตั้งค่ากล้อง เพื่อบันทึกภาพยนตร์"

2. การทำหนังเหลื่อมเวลา (Time Lapse) คู่มือ p.28
   เป็นการตั้งกล้องเพื่อบันทึกภาพที่จุดเดิมซ้ำๆ ในเวลาที่ต่างกัน (มีเลือก 5 แบบ) ผลลัพท์ที่ได้จะเป็นคลิปสั้นๆ ที่มีความยาว 10 วินาที ต่อการถ่ายภาพ 1 ครั้ง ส่วนจำนวนภาพที่ถ่ายอัตโนมัติและระยะเวลาที่ใช้ถ่ายภาพ ขึ้นอยู่กับประเภทที่เลือก (จะกล่าวถึงในลำดับต่อไป) หากกำหนดขนาดคลิป 1080/30p จะใช้ภาพ 30 ภาพต่อวินาที และถ้ากำหนดเป็น 1080/25p จะใช้ภาพ 25 ภาพต่อวินาที ... โดยที่เราไม่ต้องไปกังวลว่ากล้องจะบันทึกไปกี่ภาพ แต่เพื่อให้เข้าใจในหลักการภาพยนตร์ว่า ภาพยนตร์คือภาพเคลื่อนไหวที่นำภาพนิ่งหลายๆ ภาพมาต่อๆ กันในอัตรา 30 หรือ 25 ภาพ ต่อ 1 วินาที
... ดังนั้นที่ความยาว 10 วิ. จะใช้ภึง 300 หรือ 250 ภาพตามลำดับ ที่สำคัญ การถ่ายภาพลักษณะนี้ต้องชาร์จแบตเตอร์รี่ให้เต็ม และใช้ขาตั้งกล้องควบคู่กันไปด้วย
     ในกล้อง DSLR ทั่วๆ ไปก็มีการถ่ายภาพแบบ Time lapse แต่ไม่มีการนำมารวมกันเป็นคลิปวิดีโอ เป็นการเก็บภาพต้นฉบับเหล่านั้นไว้ แล้วเราต้องหาโปรแกรมที่นำภาพมาต่อๆ กันเป็นคลิปวีดีโอแล้วค่อยลบภาพต้นฉบับทิ้งไป นั้นคือเราต้องถ่ายภาพ 300/250 ภาพนั่นเอง นับว่าคุณสมบัตินี้ช่วยเราได้มากเลย

ขั้นตอนการถ่ายภาพ "หนังเหลื่อมเวลา" (Time lapse)

1. กดปุ่ม หมายเลข 11 โหมดถ่ายภาพ (Scene Mode) รูปกล้องเขียว กดลูกศรลงมารายการที่ 2 (รายการแรกโหมด Scene) เดิมจะเป็นรูปอะไรไม่ต้องสนใจ ให้สังเกตว่ามีรูป สามเหลี่ยมเล็กๆ ขวามือของไอคอน ให้กดลูกศรไปทางขวา (ปุ่มเลือกคำสั่ง หมายเลข 8)

2. เลือกรายการที่ 3 โหมด"หนังเหลื่อมเวลา" (Time-Lapse-Movie) รายการแรกเป็นการถ่ายภาพบุคคล กดลูกศรลงมาล่างเรื่อยๆ เมื่อเจอแล้วกดลูกศรขวาอีกครั้ง เพื่อเลือกประเภทที่ต้องการ
- ทิวทัศน์เมือง (Cityscape) ใช้เวลา 10 นาที
- ทิวทัศน์ทั่วไป (landscape) ใช้เวลา 25 นาที
- พระอาทิตย์ขึ้น/ตก (sunset)  ใช้เวลา 50 นาที
- ท้องฟ้ายามค่ำคืน/เส้นแสงดาว (Night sky, Star trails) ใช้เวลา 150 นาที

3. เลือกว่าต้องการล็อคค่าแสงหรือไม่ ... จากนั้น OK ก็พร้อมบันทึกภาพกันแล้วละครับ

  • หากเลือกเป็น off จะไม่ล็อคค่าแสง จะทำให้แสงวูบวาบได้
  • ควรเลือก AE-L ค่าแสงที่กล้องกำหนดจะคงที่ เราจะได้ภาพที่สมจริงเช่นถ่ายบรรยากาศจะพลบค่ำ

4. การเริ่มบันทึก กดปุ่ม Shutter เพื่อบันทึกภาพแรก ที่เหลือก็รอให้ครบตามเงื่อนไข กล้องจะหยุดเอง เราก็จะได้ไฟล์วิดีโอ ที่มีนามสกุล xxx.mov 1 ไฟล์


     จากตารางทำให้เราทราบถึงเหตุผลที่ใช้เวลาในการบันทึกแตกต่างกัน เพราะช่วงเวลาที่บันทึกภาต่างกัน เช่น การถ่ายทิวทัศน์ จะถ่ายทุกๆ 5 วิ. ซึ่งใน 1 นาทีจะบันทึกไว้ 12 ภาพ ดังนั้นต้องรอถึง 25 นาที เพื่อให้ได้ 300 ภาพ (ในระบบ 1080/30p หรือ 1080/60i)
     ในกล้อง DSLR ทั่วๆ ไปก็มีการตั้งค่าเองตามต้องการว่าจะใช้บันทึกกี่ภาพ และใช้ช่วงเวลาห่างกันกี่วินาทีต้องการบันทึก 1 ภาพ ... ดังนั้นเวลาก็จะแตกต่างกันออกไป

ตัวอย่างคลิปนี้เลือกใช้ ประเภททิวทัศน์ทั่วไป (landscape) ใช้เวลา 25 นาที และล็อคค่าแสง AE-L

3. หนังสั้น (Short movie) คู่มือ p.38
     เป็นการถ่ายคลิปสั้นๆ ที่มีความยาว 30 วินาที ซึ่งต่างจากคลิปที่ถ่ายแบบ Timelapse (มีความยาว 10 วิ.) ... แต่กรณีนี้ 30 วิ. ที่ได้เกิดจากการ กดปุ่ม บันทึกภาพยนตร์ (ปุ่มหมายเลข 5) เหมือนการถ่ายวิดีโอธรรมดา เพียงแต่คุณสมบัตินี้ถึงกำหนดคลิป และระยะเวลาความยาวคลิป เข่น

  • 2 วิ x 15 คลิป
  • 3 วิ x 10 คลิป
  • 5 วิ x   6 คลิป

    นั่นหมายถึงว่า เราได้คลิปยาว 30 วิ ที่เกิดจากคลิปสั้นๆ มาต่อๆ กัน (ผู้เขียนถนัดจำนวน 6 คลิปๆ ละ 5 วินาทีมากที่สุด เพราะสะดวกในการถ่ายทำ)

จากรูปจะเห็นว่าเราสามารถเลือกจำนวนคลิป, ใส่เอฟแฟกซ์ และดนตรีประกอบ ... สามารถทดลงเปลี่ยนแปลงดูได้
ขั้นตอนการถ่ายภาพ"หนังสั้น" (Short Movies)

1. กดปุ่ม หมายเลข 11 โหมดถ่ายภาพ (Scene Mode) รูปกล้องเขียว เลื่อนลงมาเลือก"ถ่ายทำหนังสั้น" รายการที่ 2 จากล่าง (ล่างสุดโหมดอัตโนมัติ) ... กด OK
2. กดปุ่ม MENU หน้าจอจะแสดง 4 รายการ ... กดลูกศรไปทางขวา (ปุ่มเลือกคำสั่ง หมายเลข 8) หรือ ปุ่ม OK เพื่อกำหนดค่าแต่ละรายการ
3. เมื่อกำหนดเสร็จแล้ว กดปุ่ม หมายเลข 11 โหมดถ่ายภาพ (Scene Mode) รูปกล้องเขียว อีกครั้ง ... ระบบจะพร้อมบันทึกคลิปสั้นๆ ตามจำนวนที่ระบุ
4. บันทึกไปจนครบที่แสดงบนหน้าจอนะครับ ไม่งั้นจะไม่ได้คลิปที่มีความยาว 30 วิ. ตามที่ต้องการ
... เห็นไหมครับไม่ยากเลย เพียงแค่เข้าใจหลักการทำงานของกล้องเท่านั้นเอง

ขั้นตอนการตั้งค่ากล้อง เพื่อบันทึกภาพยนตร์ (Movie)  คู่มือ p.100

     การตั้งค่าเริ่มต้น เราทำครั้งเดียวไม่ว่าจะถ่ายวีดีโอในรูปแบบใด เช่น 1080/720px, 30/25p, 60/50i
1. กดปุ่ม MENU กดลูกศรไปทางซ้าย 1 ครั้ง แล้วเลื่อนลงมาที่รายการที่ 2 โหมดภาพยนตร์ (เป็นรูปกล้องวีดีโอ) ... กด Ok
2. จะแสดงเมนูย่อยในการตั้งค่า ให้เลือกไปที่ "อัตราการบันทึกภาพ (Frame Rate) จะอยู่ในลำดับที่ 7  ต้องเลื่อนลูกศรลงไปจนสุดจะขึ้นหน้ารายการใหม่ ... กด ok แล้วเลือกเอาว่าจะใช้ 30fps หรือ 25fps ในที่นี้ผู้เขียนตั้งไว้ที่ 25fps (เหมาะกับทีวีระบบ PAL ที่ใช้ในประเทศไทย)
3. กดลูกศรขึ้นหรือลง เพื่อไปที่"ตัวเลือกภาพยนตร์" (Movie Options) ... ผู้เขียนเลือกที่จะตั้งไว้ที่ 1080/25p  ... ตัวเลือกอืนๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้
4 กดปุ่ม Menu อีกครั้งเพื่อกลับไปโหมดการถ่ายภาพปกติ

... ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยในการกำหนดค่าต่างๆ คงต้องไปทดลองเล่นดูนะครับ มีตัวอย่างที่ได้จากการฝึกหัดมาให้ดูเพื่อประกอบการทำความเข้าใจดังนี้ครับ

คลิปที่ 1 ใช้ Special effect : Toy Camera effect 1 (Background music 4)



                          คลิปที่ 2 ใช้ Special effect : Toy Camera effect 2 (Background music 3)


 คลิปที่ 3 ใช้ Special effect : Off  (Background music 3)

     ทั้ง 3 คลิปฝึกถ่ายด้วยมือ ทำให้ภาพสั่นๆ และมีการแพนกล้องด้วย ซึ่งบางฉากไม่ควรทำ และที่สำคัญต้องฝึกใช้ขาตั้งกล้องประกอบด้วย


คลิปที่ 3 และ 4 สังเกตว่ามีเสียงลมรบกวน เนื่องไม่ได้เลือกใช้ Wind noise reduction ในการตั้งค่าการถ่ายภาพยนต์ (Movie)  ... ขอบคุณที่ติดตามชมนะครับ แล้วพบกันใหม่


ไม่มีความคิดเห็น :