LV (Light Value) vs EV (Exposure Value)
LV (Light Value) & EV (Exposure Value) |
เอาเรื่องเก่าๆ มาเล่ากันใหม่ เป็นเรื่องที่เคยอ่านเจอในเอกสารสอนการถ่ายถาพในอดีต ซึ่งไม่แน่ใจว่าปัจจุบันเขายังสอนเรื่องแบบนี้กันอีกหรือเปล่า ... จึงขอนำมาบันทึกไว้อีกสักครั้งหนึ่ง
ผู้เขียนเองไม่ได้เรียนมาทางสายนี้ อาศัยเก็บรวบรวมจากการอ่านๆๆๆ และสนใจการถ่ายภาพในระดับหนึ่งตามกำลังทรัพย์ที่พอมี ... มีคนเคยกล่าวไว้ว่า"การถ่ายภาพ คือการบันทึกแสง" ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเรื่อง แสง และ การวัดค่าของแสงกันนะครับ
จากรูป แสง ถูกแบ่งเป็น 2 ช่วง
- LV (Light Value) คือแสง "ก่อน" ผ่านเลนส์เข้าตัวกล้อง
- EV (Exposure Value) คือแสง "หลัง" ผ่าน รูรับแสง, ม่านชัตเตอร์ จนถึง CCD/C-MOS Sensor (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า sensor
ขยายความ ... พื้นฐานการถ่ายภาพ คือ การบันทึกแสงสะท้อนจากวัตถุ ลงบนอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่เราเรียกว่า Sensor หากเป็นสมัยก่อนก็หมายถึง "แผ่นฟีล์ม" นั่นเอง ดังนั้นเราต้องจัดระเบียบและปริมาณของแสงที่เข้ามา LV (Light Value) ให้พอเหมาะพอดี ก่อนจะไปตกบน Sensor จึงจะได้ภาพใกล้เคียงกับที่ตาคนเรามองเห็นมากที่สุด แสงที่เราปรับฯ แล้วนี้คือ EV (Exposure) นั่นเอง
ตามที่บอกว่า"การถ่ายภาพ คือ การบันทึกแสงสะท้อนจากวัตถุ" ถ้าแหล่งกำเหนิดมีแหล่งเดียว เช่น ดวงอาทิตย์ และวัตถุต่างๆ มีค่าการสะท้อนแสงเท่ากันหมด การถ่ายภาพคงง่ายขึ้นเยอะ แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นแบบนั้น
เรามาลองพิจารณาค่าปริมาณแสงในภาวะต่างๆ จากตารางล่างนี้ ลองดูที่ค่า LV = 13 ถึง 17 เป็นการกำหนดให้แหล่งกำเหนิดแสงมีค่าคงที่ (ตอนเที่ยงวัน, ท้องฟ้าสดใส, แดดจัด) แล้วเปรียบเทียบค่าแสงสะท้อน (LV) จากวัตถุ 5 ชนิด จากวัตถุสี ดำ - เทาเข้ม - เทากลาง - เทาอ่อน - ขาว ตามลำดับ ... จะเห็นว่าเราได้ค่าที่แตกต่างกัน ถึง 5 ระดับตามวัตถุที่เปลี่ยนไป
นั้นคือ ถ้าเรา"จัดแสง"และถ่ายภาพวัตถุสีเทากลาง ที่มีค่าการสะท้อนแสง LV=15 แล้วได้ภาพพอดีเหมือนที่ตาเรามองเห็น ... ลองเปลี่ยนวัตถุเป็น"สีขาว" ที่มีค่าสะท้อนแสง LV=18 ผลที่ได้จะสว่างกว่าปกติมาก หรือที่เขาเรียก Over นั้นเอง และในทางตรงกันข้าม ลองเปลี่ยนวัตถุเป็น"สีดำ" ที่มีค่าสะท้อนแสง LV=13 ดูบ้าง ผลที่ได้จะเป็นในทางตรงข้ามเช่นกันคือ มืดกว่าปกติ
ค่าปริมาณแสงสะท้อนจากวัตถุ ในสถานที่และเวลาต่างๆ |
- ค่า EV คือค่าการบันทึกแสงที่เกิดขึ้นจริงบน sensor ค่าแสงนี้ขึ้นกับองค์ประกอบด้วย 3 ส่วน
- ขนาดรูรับแสง (รูกว้าง-แสงเข้ามาก ... ตัวเลขน้อย)
- ความเร็วชัตเตอร์ (ความเร็วต่ำ-แสงเข้ามาก ... ตัวเลขน้อย)
- ความไวแสงของ sensor (ISO สูงๆ ไวแสงมาก...)
- ค่า EV ไม่มีหน่วยวัด เป็นเพียงค่าตัวเลขชี้วัด(ดัชนี)
- นิยาม ...
ค่า EV = 0 คือ
- การบันทึกแสงที่ขนาดรูรับแสง = F/1,
- ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/1 วินาที
- ที่ค่า ISO = 100
... ได้ภาพวัตถุสีเทากลาง (ค่าสะท้อนแสง 18%)
ความสัมพันธ์ของ F-Number, Shutter speed และ ISO |
EVf คือ ค่า EV ที่เกิดจากขนาดรูรับแสงหากเขียนเป็นสมการทางคณิตศาสตร์จะได้ว่า EV = EVf + EVs + EVi
EVs คือ ค่า EV ที่เกิดจากความเร็วชัตเตอร์
EVi คือ ค่า EV ที่เกิดจากค่า ISO ที่ความไวแสงต่างๆ
หมายความว่า ... ค่าของแสงที่เราถ่ายภาพ 1 ภาพ จะเกิดจากผลของแสงที่ผ่านวัตถุ 3 ประการ (รูรับแสง+ความเร็วม่านชัตเตอร์+ความไวแสง CCD) ... ให้สังเกตว่าค่า ISO ที่มีความไวสูงขึ้น 1 เท่าตัว ( 1 สต็อป) จะมีค่าลบหนึ่ง (-1) นั่นคือลดปริมาณความต้องการของแสงลงด้วย
ต่อไปลองดูตัวอย่างการแทนค่าในสมการ...
โจทย์ 1 - ISO=100, F/16, 1/125s
- EV = EVf + EVs + EVi
EV = 8 + 7 + 0
EV = 15
โจทย์ 2 - ISO=50, F/11, 1/125s
- EV = EVf + EVs + EVi
EV = 7 + 7 + 1
EV = 15
จะเห็นว่าโจทย์ที่ 1 และ 2 ได้ค่า EV = 15 เท่ากัน ... คงพอเข้าใจนะครับ
โจทย์ 3 - ISO=800, F/22, 1/8s
- EV = EVf + EVs + EVi
EV = 9 + 3 + (-3)
EV = 9
โจทย์ 4 - ISO=200, F/5.6, 1/30s
- EV = EVf + EVs + EVi
EV = 5 + 5 + (-1)
EV = 9
จะเห็นว่าโจทย์ที่ 3 และ 4 ได้ค่า EV = 9 เท่ากัน ... คงพอเข้าใจนะครับ
โจทย์ 5 - ISO=400, F/2.8, 1/1000s
- EV = EVf + EVs + EVi
EV = 3 + 10 + (-2)
EV = 15
โจทย์ 6 - ISO=200, F/16, 1/125s
- EV = EVf + EVs + EVi
EV = 8 + 7 + (-1)
EV = 14
อันที่จริงในปัจจุบันหากวัดแสงเป็น ดูบาร์สเกลเป็น คนถ่ายภาพทั่วไปสมัยนี้ ไม่จำเป็นต้องรู้จักที่มาที่ไปของ EV ก็ได้ ... แต่ถ้าเข้าใจ EV มันทำให้มองภาพของ “กฎการแลกเปลี่ยนสต็อป - Stop Exchange” ชัดเจนขึ้น เข้าใจการชดเชยแสงได้ง่ายขึ้น
ซึ่งในความเป็นจริงเวลาถ่ายรูปเราไม่ต้องไปจดจำว่าว่าสภาวะแสงแบบไหน มีค่า EV เท่าไหร่ เราหันไปสนใจเรื่อง "ชัดลึก-ชัดตื้น" ในการเลือกใช้ค่า"รูรับแสง" และ สนใจเรื่องการหยุดภาพที่มีการเคลื่อนที่เร็ว โดยการเลือกใช้ค่า speed shutter ที่สูงขึ้น และสุดท้ายคำถึงเรื่องของ Noise โดยเลือกใช้ค่า ISO ที่ต่ำสุดที่ทำได้
คิดว่าบทความนี้พอเป็นประโยชน์มนการทำความเข้าใจพื้นฐานได้บ้างนะครับ.../สวัสดี
ซึ่งในความเป็นจริงเวลาถ่ายรูปเราไม่ต้องไปจดจำว่าว่าสภาวะแสงแบบไหน มีค่า EV เท่าไหร่ เราหันไปสนใจเรื่อง "ชัดลึก-ชัดตื้น" ในการเลือกใช้ค่า"รูรับแสง" และ สนใจเรื่องการหยุดภาพที่มีการเคลื่อนที่เร็ว โดยการเลือกใช้ค่า speed shutter ที่สูงขึ้น และสุดท้ายคำถึงเรื่องของ Noise โดยเลือกใช้ค่า ISO ที่ต่ำสุดที่ทำได้
คิดว่าบทความนี้พอเป็นประโยชน์มนการทำความเข้าใจพื้นฐานได้บ้างนะครับ.../สวัสดี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น
(
Atom
)
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น