Smile Cycling

ฝันเล็กๆ ในการเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยาน

ปั่นสองน่อง ท่องถ้ำเลสเตโกดอน ตอนที่ 1/2

1 ความคิดเห็น

เป็นกิจกรรมเล็กๆ ของกลุ่มจักรยานบางส่วนของจังหวัด สตูล, ตรัง, พัทลุง และสงขลา รวมตัวกันได้ ๒๑ คน ,,, มีจาก

  • สงขลา ๓ คน มาเริ่มต้นที่นี่ด้วย 
  • ส่วนพัทลุง ๔ คนและ ตรัง ๑ คน รอที่พิพิธภัณฑ์ช้างฯ อ. ทุ่งหว้า
  • ที่เหลือเป็นเพื่อนๆ ใน จ.สตูล
พิกัดร้าน BikeCorner :  N6.64393 E100.07348


     เส้นทางปั่นจาก Bike corner หน้า รร.คลองขุด ผ่านแยกฉลุง ไปตามถนนทางหลวง 416 ถึงบ้านควนโพธิ์ หลบเข้าสายใน สาย 3009 จนไปออกซอย 4  ถ.4137 เส้นควนกาหลง-ละงู ...


 
     ถึงปากซอย 4 เราพักทานมื้อเช้ากันก่อน




    ปั่นไปเรื่อยๆ จนถึง อ.มะนัง จาก 4 แยกมะนัง หลังพักขากันหน่อยหนึ่งก็ไปกันต่อ... ตามเส้นทาง 4010, 5025, 3007 จนบรรจบเส้น 416 อีกครั้งที่บ้านพานวา เรามุ่งตรงไปที่พิพิธภัณฑ์ฯ





     เราทั้งหมดไปถึงก็ประมาณเที่ยง มีท่านนายกฯอบต.ทุ่งหว้า คุณณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ (นายกโอเล่) มาต้อนรับและบรรยายสรุป

พิกัด พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า : N7.09065 E99.76852
คุณณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ (นายกโอเล่) ายกฯอบต.ทุ่งหว้า








     ภายในอาคารติดแอร์เย็นฉ่ำ พร้อมจัดแสดงข้อมูลเกื่ยวกับความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้ ...
ข้อมูล/รายละเอียดที่ถูกต้อง ท่านผู้อ่านสามารถค้นหาเพิ่มเติมได้จากเฟชบุกของ ทุ่งหว้า โฮมสเตย์โกดอน หรือที่เฟชบุกส่วนตัวของท่านนายกฯ https://www.facebook.com/narongrit.thu/posts/667352663300271




     จากนั้นไปใหว้พระหลวงพ่อแก่นจันทร์ วัดชมพูนิมิตร อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นที่เคารพของชาว อ.ทุ่งหว้า ทราบจากประวัติความเป็นมาคร่าวๆ แล้วน่าทึ่งมาก

พิกัดวัดชมพูนิมิตร : N7.10433 E99.75264



ประวัติหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดชมพูนิมิตร อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ... ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.web-pra.com/Article/Show/523 
หลวงพ่อแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธรูปที่ ชาวทุ่งหว้าให้ความเคารพนักถือมาเป็นเวลาช้านาน โดยมีประวัติเล่าต่อๆกันมาว่า ชาวบ้านบ้านแหลมแค ตำบลบ้าน ท่าแลหลาอำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งอยู่ริมทะเล ไปเจอพระพุทธรูป ๓ องค์ลอยน้ำมา เกยตื้น ที่บ้านแหลมแค โดยพระพุทธรูปองค์ใหญ่ แกะสลักสวยงามมาก และมีพระพุทธรูปองค์ เล็ก อีก ๒ องค์ เข้าใจว่าเป็นพระลูกศิษย์

แต่เนื่องจากว่าชาวบ้านบ้านแหลมแคเป็นชาวอิสลามทั้งหมด จึงส่งข่าวมาบอก นายเทียนยี่ เล่าเซ้ง กับนาย หิ้น โพธิรัตน์ ซึ่งเป็นไทยพุทธ และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวัดชมภูนิมิตร บุคคลทั้งสองจึงชักชวนไทยพุทธชาวทุ่งหว้า จำนวนหนึ่ง เดินเท้าจากอำเภอทุ่งหว้า ไปบ้านแหลมแค และได้อุ้มพระพุทธรูปทั้ง สามองค์ มาไว้ที่ไว้ชมภูนิมิตร ประดิษฐาน เป็นพระประธาน ซึ่งมีเพียง ๓องค์เท่านั้น ขณะเดินทางกลับ เกิดฝนตกหนัก ปรากฏว่า คนอุ้มพระ ไม่เปียกฝน ทำให้ชาวบ้านมีความศรัทธามาก นิยมไปกราบไว้บูชา และบนบานสารกล่าวขอพรเป็นประจำ เมื่อได้ตามที่ขอไว้แล้ว ก็จะนำขนมโค ไปไหว้ เพื่อแก่บน

เมื่อถึงวันออกพรรษา ก็จะมีประเพณีลากพระ โดยทางเรือ ด้วยยังไม่รู้ว่าเป็นพระอะไร จึงเรียนว่า “พระลาก” เพราะนิยมนำมาลากพระในวันออกพรรษา ต่อมาเมื่อถึงวันสงกรานต์ จะนำพระพุทธรูปดังกล่าวมาสรงน้ำ ปรากกฎว่า เศียรพระซึ่งมีลักษณะเป็นเปลวแหลม เกิดบิ่น ขึ้นมา ชาวบ้านจึงเอาเอาเศียรพระ มาดูกัน ปรากฏว่าผู้รู้ บอกว่า เป็นไม้จันทน์ จึงเรียก “หลวงพ่อแก่นจันทน์” แทน “พระลากตั้งแต่นั้นมา

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ คณะกรรมการวัดได้จัดสร้างเหรียญหลวงพ่อแก่นจันทน์ เนื้อทองระฆัง ฝาบาตรเก่า ปางอุ้มบาตร ไว้ให้ลูกหลานชาวทุ่งหว้า และใกล้เคียงไว้บูชา โดยได้นิมนต์เกจิร่วมสมัยมาปลุกเสกเช่นเกจิจากจังหวัด ตรัง สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช มาทำการปลุกเสกตลอดทั้ง 7 วัน 7 คืน จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุชัดเจน แต่มีข้อสังเกตว่า น่าจะไม่น้อยกว่า 1000 เหรียญ เนื่องจากพิธี 7 วัน 7 คืน หากทำน้อยไปอาจจะไม่พอแจก เมื่อมีการทำบุญจะเอาเหรียญหลวงพ่อแก่นจันทร์ บรรจุในซองคล้ายๆซองกฐินให้แก่ผู้มาร่วมทำบุญ จากการสอบถามผู้เฒ่าคนแก่ที่อยู่รู้เห็นเหตุการณ์ในสมัยนั้นภายในท้องถิ่น ยืนยันว่ามีการจัดงานใหญโต คนที่มาจากหลายจังหวัดตามที่ระบุไว้ข้างตน เท่าที่ปรากฏการพบเห็นเหรียญหลวงพ่อแก่นจันทร์รุ่นแรก ปี 16 ที่เห็นแขวนขึ้นคอบูชา พบเจอที่จังหวัดพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดสงขลา อำเภอหาดใหญ่ อำเภอควนเนียง อำเภอระโนด จังหวัดสตูล เกือบทุกอำเภอ ปรากฏว่านาย เฉลียว เชียงทอง ได้นำเหรียญดังกล่าวไปประกวดในงานอนุรักษ์ พระบูชา พระเครื่อง และเหรียญคณาจารย์ ณ หอประชุมกองบังคับการตำรวจภูธร ๑๑ จังหวัดนครศรีธรรมราชในวันเสาร์ที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗ และได้รับรางวัลที่ ๑ ประเภทเหรียญภาคใต้

ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่อแก่นจันทน์ พุทธบริษัท จึงได้จัดสร้างวิหารหลวงพ่อแก่นจันทน์ เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อแก่นจันทน์ และเพื่อเป็นการป้องกันผู้ร้ายมาแอบมาขโมยไป เพราะหลวงพ่อแก่นจันทน์ มีอายุเก่าแก่มาก ป้จจุบันสร้างวิหารเสร็จสิ้นแล้ว และด้วยความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คณะกรรมการจึงขอพระราชทาน ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ฉลองไว้ที่หน้าจั่ววิหารหลวงพ่อ
ออกจากวัดปั่นเลยไปหน่อยก็จะเป็นท่าเรือในอดีต ปัจจุบันเป็นท่าเรือของประมงพื้นบ้าน

พิกัด ท่าสุไหง-อุเป : N7.10738 E99.74783




     เที่ยงแล้วเริ่มหิว ปั่นย้อนกลับมา มองหาร้านข้าวฯ ... ค่อนข้างจะหายาก ผมวนเข้าไปตลาดนัดเจอแผงค้า"ข้าวหมกไก่" ซื้อมากันเหนียวไว้ก่อน 1 ห่อ แล้วปั่นตามเพื่อนๆ ไปเจอร้าน"ข้าวมันไก่เค่งหน่ำซาง" จึงใช้เป็นที่เติมพลังเที่ยงวันนี้
พิกัด : N7.10412 E99.75477
     ปั่นย้อนกลับมาที่พักฯ ผ่านหน้า อบต.ทุ่งหว้ากำลังปรับปรุงภูมิทัศน์ จึงแวะถ่ายภาพบันทึกความทรงจำซะหน่อย (พิกัด : N7.09058 E99.76684)



     แล้วก็ไปยังที่พักซึ่งเป็นโฮมสเตย์ ที่ ต. คีรีวง พวกเรามาพร้อมกันและพักที่นี่ 21 คน แบ่งเป็น 3 บ้าน 8-7-6 คน/หลัง ตามลำดับ
พิกัด : N7.10840 E99.79925

     ช่วงบ่ายๆ-เย็น พวกเราบางส่วนไปเล่นน้ำตกธารปลิว พอฉ่ำเย็นอุรา โดยเดินทางด้วยรถยนต์กระบะ ตามถนน 416 แล้วแยกไปตาม 3023 ประมาณ 7 กม. ก็จะถึงน้ำตกธารปลิว (พิกัด : N7.11000 E99.84500)







เป็นน้ำตกที่สวยอีกแห่งหนึ่ง แต่ที่น่าเสียดายว่าถูกทิ้งร้างขาดการดูแลบูรณะ สภาพทางเดินผุพัง มีเพียงร่องรอยสะพานไม่เก่าๆ ประมาณดูแล้วคงไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการ แผงร้านขายของที่อยู่คู่กับการท่องเที่ยวแบบไทยๆ ก็ผุพัง

  


เป็นน้ำตกที่อาจถือได้ว่าอยู่ติดถนนเลย จอดรถยนต์แล้วเดินต่อไปนิดเดียวราวๆ 200 เมตร ก็ได้สัมผัสน้ำตกเย็นๆ แล้ว




     กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้ คือการร่วมรับประทานอาหารและก็มาร่วมตั้งวงสนทนา เฮฮา ตามประสาคนคอเดียวกัน อาหารว่าเป็นผลไม้ อาหารหลักเป็นข้าว+กับข้าวพื้นบ้าน ซึ่งทางโฮมสเตย์ ได้จัดมาให้พวกเรา (ที่พัก + อาหาร 2 มื้อ ในราคา 380.-/หัว) ... ส่วนกับแกล้วปิ้งๆ ย่างๆ พวกเรารวมเงินกันจัดหามาเอง






... เพื่อไม่ให้บทความนี้ยาวเกินไป ขอจบตอนที่ 1 ไว้ ณ เวลาแห่งความสุขนี้ไว้ก่อน ... ติดตามตอนที่ 2 ได้ที่นี่ ...

1 ความคิดเห็น :

smilecycling กล่าวว่า...

ทดสอบ