Smile Cycling

ฝันเล็กๆ ในการเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยาน

ดาวเทียม : ไทยคม

ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนท

วันนี้นึกไงไม่รู้อยากรู้เรื่องตำแหน่งดาวเทียมขึ้นมา เลยเข้า วิกิพีเดีย เพื่อหาข้อมูล ... พบว่า

ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ

และปัจจุบัน (มิย. 57) มีดาวเทียมไทยคม มีทั้งหมด 6 ดวง ใช้งานได้จริง 3 ดวง คือ ไทยคม 4-5-6 (ส่วน 1-2-3 ปลดระวางแล้ว)

ทีนี้ก็มาดูกันว่ามีดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งไหนกันบ้าง
1 ไทยคม 1 ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E (1A)
2 ไทยคม 2 ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E
3 ไทยคม 3 ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E ( ปลดระวาง )
4 ไทยคม 4 ตำแหน่ง: 0°0′N 120° ( หรือ ไอพีสตาร์ ... ใช้สื่อสารอินเตอร์เนท)
5 ไทยคม 5 ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E ( ทดแทน ไทยคม 3 )
6 ไทยคม 6 ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E

*** สำหรับอนาคตจะมี ไทยคม 7 และ 8 ในตำแหน่ง 120E และ 78.5E ตามลำดับ ***

ถ้ามาดูเฉพาะการใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ก็จะมี ไทยคม 5, ไทยคม 6 ที่เราคุ้นเคยกันดี

ดาวเทียม ไทยคม 5

ย่านความถี่ C-Band : 25 ทรานสพอนเดอร์
ย่านความถี่ Ku-Band : 14 ทรานสพอนเดอร์

ดาวเทียม ไทยคม 6 

ได้เริ่มให้บริการสัญญาณดาวเทียมเพื่อบรอดคาสต์อย่างเต็มรูปแบบ ผ่านโครงข่ายดาวเทียมคุณภาพสูงของไทยคม 6 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา

ดาวเทียมไทยคม 6 เป็นดาวเทียมบรอดคาสต์ทที่จัดส่งขึ้นสู่วงโคจรในตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก ซึ่ง เป็นตำแหน่งเดียวกับ ดาวเทียมไทยคม 5 (Hot Bird) โดยมีศักยภาพในการถ่ายทอดสัญญาณ ทั้ง ย่านความถี่ Ku-Band และ C-Band

ย่านความถี่ C-Band : 24 ทรานสพอนเดอร์ ให้บริการในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปแอฟริกา
ย่านความถี่ Ku-Band : 9 ทรานสพอนเดอร์ ให้บริการในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข่าวจาก ไทยโพสต์ ... 
     กทค.ไฟเขียวไทยคม ยิงดาวเทียมดวง 8 โดยใช้ใบอนุญาตเดิม ให้กำหนดเวลา 18 ปี
    นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติอนุมัติให้บริษัทไทยคมสามารถเพิ่มบริการดาวเทียมดวงใหม่ภายใต้ใบอนุญาตเดิม หรือสามารถ ยิงดาวเทียมดวงที่ 8 ขึ้นสู่วงโคจร 78.5 องศาตะวันออกตามที่ไทยคมยื่นขอมา
    ทั้งนี้ ไทยคมได้ยื่นขอต่อ กทค. เพื่อขอเพิ่มบริการโครงข่ายดาวเทียมภายใต้ใบอนุญาตเดิมที่เคยได้รับในการให้บริการดาวเทียมไทยคม 7 โดยมีหนังสือยืนยันจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ว่า ไทยคมได้รับอนุญาตให้ใช้วงโคจรดังกล่าวแล้ว
    สำหรับการอนุญาตไทยคม 8 มีระยะเวลา 18 ปี ซึ่งการให้บริการดาวเทียมทุกดวงต่อจากนี้ จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตดวงที่ 7 ที่อนุมัติไปเมื่อปี 2555 โดยไทยคมจะจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตภายใต้ดวงที่ 7 ทั้งหมด และมีเงื่อนไขว่า กทค.ต้องได้รับหนังสือยืนยันจากไอซีทีอีกครั้งว่า ไอซีทีสามารถอนุมัติการใช้วงโคจรโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี
    ปัจจุบัน ไทยคมให้บริการดาวเทียมรวม 3 ดวง คือ ไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ที่ 119.5 องศาตะวันออก ไทยคม 5, 6 ที่ 78.5 องศาตะวันออก และไทยคม 7 ที่ 120 องศาตะวันออก โดยการยิงไทยคม 8 ครั้งนี้ เพื่อรองรับการเติบโตของทีวีดิจิตอลที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งมีความต้องการใช้งานช่องสัญญาณดาวเทียมสูงมาก
    สำหรับประเทศไทยมีสิทธิ์ในวงโคจร 6 ตำแหน่ง คือ 50.5,  78.5, 119.5, 120, 126 และ 142 องศาตะวันออก โดย 50.5 อยู่ระหว่างการเจรจาหาดาวเทียมเพื่อรักษาวงโคจร ขณะที่อีก 2 ตำแหน่งที่เหลือยังไม่เคยมีการใช้งานดาวเทียม เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ครอบคลุมบริเวณมหาสมุทรอินเดียและบางส่วนของมหาสมุทรแปซิฟิก จึงต้องใช้งบลงทุนสูงในการสร้างสถานีรับส่งภาคพื้นดินในบริเวณกลางทะเล.

แถมท้ายด้วยความรู้


ปล. แถมอีกนี๊ดเรื่องความถี่ที่เราคุ้นๆ C Band - Ku Band
ตารางที่ 1 ย่านความถี่ในการใช้งานสำหรับการสื่อสารดาวเทียม
ย่านความถี่
ชื่อย่าน
225 – 390 MHz
p
350 – 530 MHz
J
1350 – 2700 MHz
L
2500 – 2700 MHz
S
3400 – 6425 MHz
C
7250 – 8400 MHz
X
10.95 – 14.50 GHz
Ku
17.70 – 21.20 GHz
Kc
27.50 – 31 GHz
K
36 – 46 GHz
Q
46 – 56 GHz
V
56 – 100 GHz
W